วันที่ 12 มิถุนายน 2567 ลงพื้นที่ถอดบทเรียนฟาร์มเกษตรกรตัวอย่างโครงการโคบาลบูรพาที่ประสบความสำเร็จ
ลงพื้นที่ถอดบทเรียนฟาร์มเกษตรกรตัวอย่างโครงการโคบาลบูรพาที่ประสบความสำเร็จ
วันที่ 12 มิถุนายน 2567 นายประสิทธิ์ ต้อยติ่ง มอบหมายให้นางพัฒนีพร พรยั่งยืนสุกุล นักวิชาการสัตวบาลปฏิบัติการ ร่วมกับนางสาวรักษิณา สัตย์ชาพงษ์ นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการพิเศษ พร้อมเจ้าหน้าที่ กสส. ร่วมกับ ปศอ.วัฒนานคร และ จนท.ปศอ.อรัญประเทศ ลงพื้นที่ จ.สระแก้ว
* ภาคเช้า ลงพื้นที่ฟาร์มเกษตรกร อ.วัฒนานคร จำนวน 2 ราย (แม่โคเนื้อ)
โดยเกษตรกรทั้ง 2 ราย ได้รับแม่โคเนื้อจากโครงการเมื่อปี 2560 และสามารถคืนลูกโคเนื้อให้โครงการครบตามจำนวน เมื่อปี 2564 เกษตรกรแจ้งว่าสามารถดำเนินโครงการจนประสบความสำเร็จได้เนื่องจากมีการดูแลเอาใจใส่ในการเลี้ยงแม่โคเนื้อที่ได้รับมาอย่างดี มีใจรักในการเลี้ยงโคเนื้อ มีแหล่งผลิตหญ้าอาหารสัตว์เพียงพอ รวมถึงการได้รับการบริการด้านการผสมเทียม และคำแนะนำการเลี้ยงโคเนื้อจาก ปศอ. จนกระทั่งได้ลูกโคเนื้อเพศเมียส่งคืนโครงการ และลูกโคเนื้อเพศผู้เพื่อจำหน่าย ซึ่งแต่ละรายมีรายได้จากขายโคเนื้อภายใต้โครงการมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 แสนบาท
* ภาคบ่าย ลงพื้นที่ฟาร์มเกษตรกร อ.อรัญประเทศ จำนวน 2 ราย (แม่โคเนื้อ, แพะเนื้อ)
เกษตรกรเลี้ยงแม่โคเนื้อจำนวน 6 ราย เลี้ยงแบบรวมคอก จำนวนแม่โคเนื้อรวม 30 ตัว เกษตรกรได้รับแม่โคเนื้อเมื่อปี 2561 และทยอยคืนลูกโคเพศเมียครบตามจำนวนเมื่อปี 2566 ส่วนเพศผู้นำมาเลี้ยงขุนต่อเพื่อทำตลาดขายในประเทศ และส่งออกประเทศเพื่อนบ้าน เกษตรกรแจ้งว่าปัญหาที่เกษตรกรรายอื่นๆ ที่ไม่สามารถดำเนินการตามโครงการได้เนื่องจากมีพื้นที่ปลูกหญ้าอาหารสัตว์ไม่เพียงพอ และประสบการณ์ในการเลี้ยงโคเนื้อมีน้อย ส่งผลให้แม่โคเนื้อที่เลี้ยงไม่สมบรูณ์ และไม่พร้อมที่จะให้ลูกโคเนื้อ ทำให้ไม่มีโคเนื้อส่งคืนโครงการเมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนด
เกษตรกรเลี้ยงแพะเนื้อ เลี้ยงแพะเนื้อแบบรวมคอกเกษตรกร 2 ราย แพะเนื้อรวม 64 ตัว เกษตรกรได้รับแพะเนื้อเมื่อปี 2561 โดยขณะนี้ได้ส่งแพะเนื้อคืนโครงการแล้ว 40 ตัว อยู่ระหว่างทยอยส่งคืนโครงการอีก 24 ตัว ด้านผลสำเร็จของโครงการเกษตรกรแจ้งว่าเกษตรกรต้องมีใจรักในการเลี้ยงสัตว์ มีประสบการณ์ในการเลี้ยง มีแหล่งอาหารสัตว์เพียงพอ และมีตลาดรองรับชัดเจน โดยเกษตรกรรายดังกล่าวส่งขายแพะเนื้อให้สุเหร่าในพื้นที่เพื่อประกอบพิธีทางศาสนา ซึ่งเกษตรกรมีรายได้จากการจำหน่ายแพะรวมไม่ต่ำกว่า 20,000 บาท/เดือน
ทั้งนี้ เกษตรกรโครงการโคบาลบูรพาที่ประกอบอาชีพเลี้ยงแม่โคเนื้อและแพะเนื้อที่ประสบความสำเร็จกล่าวว่าโครงการโคบาลบูรพาเป็นโครงการที่พลิกฟื้นอาชีพด้านปศุสัตว์ของเกษตรกรให้มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ และตนเองมีความพึงพอใจในการเลี้ยงโคเนื้อและแพะเนื้อ และจะประกอบอาชีพด้านปศุสัตว์ต่อไป
https://pvlo-srk.dld.go.th/index.php/th/news-menu/activity-menu?start=45#sigFreeIdbdfa5d00ce